ช้อปดีมีคืน...เมื่อซื้อสินค้าของบริษัท สไปคา จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 - 15 กุมภาพันธ์ 2566 คุณสามารถนำใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2566 ตามยอดที่ซื้อจริง สูงสุดได้ถึง 30,000 บาท*

Last updated: 17 เม.ย 2566  |  1116 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ช้อปดีมีคืน


ช้อปดีมีคืน...เมื่อซื้อสินค้าของบริษัท สไปคา จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 - 15 กุมภาพันธ์ 2566 คุณสามารถนำใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษี 2566 ตามยอดที่ซื้อจริง สูงสุดได้ถึง 30,000 บาท*
(เงื่อนไขเป็นไปตามที่รัฐบาลกำหนด)
.
หากสั่งซื้อบนเว็บรบกวนระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเพื่อออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ
และหากซื้อสินค้าหน้าร้าน บริษัท สไปคา จำกัด สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบได้เลยค่ะ

สั่งซื้อบนเว็บ www.tigerbay.com
อย่าลืมใช้โค้ดส่วนลด 10% นะคะ

"ช้อปดีมีคืน" ปีล่าสุด หรือ "ช้อปดีมีคืน 2566" อีกหนึ่งโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ที่เริ่มใช้ได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 15 ก.พ.2566 ที่ช่วยให้ผู้มีเงินได้สามารถนำใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ไปยื่น "ลดหย่อนภาษี" ได้สำหรับการ "ยื่นภาษีปี 2566"

เงื่อนไขมาตรการช้อปดีมีคืน

  • ผู้ใช้สิทธิ์ ต้องซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • ต้องมีใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบ จากการซื้อสินค้า เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอลดหย่อนภาษี
  • ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่สามารถใช้สิทธิ์มาตรการนี้ได้
  • ใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2566 ที่จะเก็บในช่วงต้นปี 2567 เท่านั้น

สินค้าและบริการอะไร ลดหย่อนภาษีได้และไม่ได้บ้าง?
         แม้จะมีมาตรการช้อปดีมีคืน แต่ไม่ใช่ว่าจะสามารถช้อปได้ทุกอย่าง มาดูกันว่าสินค้าและบริการอะไรบ้าง ที่ใช้ลดหย่อนภาษีทั้งได้ และไม่ได้

สินค้าและบริการที่สามารถลดหย่อนภาษีได้

  • สินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่มีหน้าร้าน หรือร้านค้าออนไลน์ แต่ต้องเป็นร้านค้าที่จดทะเบียนภาษี VAT ซึ่งสามารถออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบให้ได้เท่านั้น เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร
  • หนังสือ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์หรืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ทุกประเภท (ยกเว้นหนังสือประเภทนิตยสารและหนังสือพิมพ์) ทั้งนี้ หากเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจน จึงจะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้
  • สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยสามารถตรวจสอบร้านค้าได้ที่ otoptoday

วงเงินสูงสุดที่ลดหย่อนได้

     ช้อปดีมีคืน 2566 รอบใหม่นี้ สามารถใช้ลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ถึง 40,000 บาท (รวม VAT) โดยแบ่งสิทธิ์ลดหย่อน ดังนี้

  • ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ 30,000 บาทแรก จะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบกระดาษ หรือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร
  • ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ อีก 10,000 บาท จะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น

สินค้าและบริการที่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้

  • สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ
  • รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าประปา
  • หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ทั้งกระดาษ และอิเล็กทรอนิกส์
  • บริการจัดนำเที่ยว ค่าที่พักโรงแรม
  • ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
  • ค่าโทรศัพท์และค่าอินเทอร์เน็ต

ใครสามารถเข้าร่วมมาตรการ ช้อปดีมีคืน ได้บ้าง?
         มาตรการช้อปดีมีคืน ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน ต้องเป็นบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2566 ที่จะเก็บในช่วงต้นปี 2567 เท่านั้น โดยจะได้รับการลดหย่อนภาษีจากมาตรการช้อปดีมีคืน ดังนี้

  • เงินได้ต่อปีไม่เกิน 150,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษี) ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ได้
  • เงินได้ต่อปี 150,001 – 300,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 1,500 บาท
  • เงินได้ต่อปี 300,001 – 500,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 3,000 บาท
  • เงินได้ต่อปี 500,001 – 750,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 4,500 บาท
  • เงินได้ต่อปี 750,001 – 1,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 6,000 บาท
  • เงินได้ต่อปี 1,000,001 – 2,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 7,500 บาท
  • เงินได้ต่อปี 2,000,001 – 5,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 9,000 บาท
  • เงินได้ต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป ลดหย่อนภาษีสูงสุด 10,500 บาท

        ส่วนผู้ที่ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี แต่มีค่าลดหย่อนภาษีอื่นๆ ที่ช่วยให้ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว จะไม่ได้สามารถใช้สิทธิ์ในมาตรการช้อปดีมีคืนได้

สรุป
         มาตรการช้อปดีมีคืน เป็นมาตรการที่กระตุ้นให้ประชาชน ออกไปใช้จ่ายเงิน ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชนที่มีสิทธิ ตรงตามมาตรการ ควรจะได้รับ ดังนั้น รีบเช็กสิทธิ์ แล้วออกไปใช้จ่ายกันเยอะๆ แต่ถึงอย่างไร การใช้จ่ายเงิน ก็ควรดูถึงความคุ้มค่า และประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก เพื่อที่จะได้จัดสรรปันส่วนเงินได้อย่างเป็นระบบ แล้วจะไม่เกิดปัญหาภายหลัง

 

credit: https://allwellhealthcare.com/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้